โน้ส อุดม กับกระแสสังคมไทยที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน

เดี่ยว ไมโครโฟนพฤษภาคม 11, 2024

นับว่าเป็นกระแสที่มาแรงและเป็นดราม่าชุดใหญ่ เดี่ยว Super Soft Power ของโน้ส อุดม” ที่ถูกพูดถึงในโลกโซเซียลอย่างมากในตอนนี้ หลังฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix ปล่อยไฮไลท์โชว์ออกมา เป็นที่ถกเถียงกันทันทีที่โน้ส อุดม แต้พานิช พลาดพิงศิลปินแห่งชาติ ซึ่งแต่ละฝ่ายมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป จนมีประเด็นเด็ดๆ ร้อนๆ อีกหลายเรื่อง จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม! แต่อย่างไรก็ตามหากย้อนไปดูเดี่ยวไมโครโฟน ตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคสุดท้าย ในแต่ละตอนนั้นมีการแทรกสอด วิถีชีวิต ติดเทรนด์ในสังคมไทยไว้ด้วยเพราะแง่มุมของเดี่ยวไมโครโฟนมีดีกว่าดราม่า ทำให้โน้ส อุดม ยังเป็นที่ชื่นชอบของคนในยุคนี้ไม่ได้น้อยลงไปเลยนักนิด!

โน้ส อุดม กับกระแสสังคมไทยที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน

มาทำความรู้จัก “โน้ส อุดม” และ “เดี่ยว ไมโครโฟน”

Stand-Up Comedyหรือ “เดี่ยว ไมโครโฟน” เขาคือใคร? การทอล์คเดี่ยว คือการเล่าเรื่องให้คนจำนวนมากฟัง โดยอาจจะเป็นประเด็นร้อนๆต่างๆ ที่ออกมาสื่อแนวที่ตลกๆ ทั้งเรื่องการเมือง ชนชาติ เพศ และการใช้ชีวิตในประจำวัน ในประเทสไทย อุดม แต้พานิช หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โน้ส อุดม” เป็นนักพูดที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในการแสดงเดี่ยวไมโครโฟน เพราะด้วยความที่เขาเป็นคนตลกขบขัน ทำให้คนไทยหลายคนชื่นชอบและติดตามผลงานเขามาเรื่อยๆ ในปี 2538 ได้เริ่มแสดงเดี่ยวเป็นครั้งแรกและได้รับกระแสที่ดีอย่างล้นหลามจนได้มีการทำโชว์มาถึง 29 ปีแล้วนั่นเองค่ะ

ผลงานแบบเรียลไทม์ 1-13 เดี่ยว ไมโครโฟน

ผลงานแบบเรียลไทม์ 1-13 เดี่ยว ไมโครโฟน

เดี่ยว ไมโครโฟน 1 (ปี 2538) นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ มหกรรมซีรีย์ เดี่ยว ไมโครโฟน จัดแสดงในปี พ.ศ. 2538 โดยเริ่มจาการเสียดสีตลกในวงการบันเทิง โดยได้อธิบาย เกี่ยวกับนักแสดง นักร่อง อาชีพวัยรุ่นในมมัยนั้น ว่าหากอยากเป็นดาราต้องไปเดินสยาม เพราะในวงการมีหนุ่มสาว อยากเข้าวงการจำนวนมาก แมวมองอาจจะไม่เพียงพอ ฉะนั้นจึงเกิดการมองแมวแทนโดยหาแหล่งคุณพจน์อานนท์อยู่ที่ไหน หนุ่มสาวก็จะกรูไปอยู่แถวนั้น

เดี่ยว ไมโครโฟน 2 (ปี 2539) ได้พูดถึงการร้องเพลง และความสนใจของนักร้องที่มีความพิเศษมากกว่าเสียงร้อง พร้อมมีการประกอบท่าทาง โดยที่ไม่ต้องการขัดคำพูดกับ โน้ส อุดม เช่น ถ้าร้องเพลงอย่าเลยๆ คงทำหน้าแบบเหยียดมือไปข้างหน้า เหมือนแสดงให้หยุดคงไม่มีใครเต้นแล้วสั่นขาไปเรื่อยหรอกทำเอาคนฟังฮาลั่นทั่วฮอลล์

เดี่ยว ไมโครโฟน 3 (ปี 2540) หยิบประเด็นเพลงไทยที่กำลังเป็นกระแส ในช่วงปี 2540 เพลง “ดูมั้ย ของศิลปินลิฟท์ออย ประเด็นที่กล่าวว่าเพลงไทยมักมีเนื้อเรื่องที่วนไปวนมา แต่แอบฟังง่ายๆ และมีการแซวเบาๆ ว่าร้องแค่ “ดูไม่ดู ดูไม่ดู ดูไม่เสียตังค์ แต่เอาเงินไป 70 บาทแล้ว”

เดี่ยว ไมโครโฟน 4 (ปี 2542) มีการแซวเจ้าตู้สติ๊กเกอร์เสียงโฆษณาที่พูดไร้อารมณ์ออกมาจากตู้ นับว่าเป็นเสน่ห์ของตู้ถ่ายในสมัยนั้นเลย “ตู้ญี่ปุ่นจะได้อารมณ์มากกว่าตู้ไทย ทำให้เสียอารมณ์แบบสุดๆ เหมือนครูภาษาไทยมาเอง ตู้สติ๊กเกอร์ของเรา ติดตู้เย็นก็ได้ด้วย ติดกระเป๋าก็ได้ด้วย จะติดตรงไหนคนได้ โอโห้เซ็ง”

ครั้งที่ 5 ฉายเดี่ยว (ปี 2545) เป็นอีกหนึ่งคาแรคเตอร์ที่น่าจดจำของอุดม แต้พานิชโดยสะสมเรื่องราวประจำวันถ่ายทอดให้คุณดูได้ดูตลอดไปพร้อมๆกัน ในตอนนี้จะแซวเรื่องการแต่งตัวฮิปฮอปและชาวแร๊ป เขาจะใส่กางเกงในตัวนึงก่อน ซึ่งกระเป๋าจะอยู่แถวก้นของกางเกงทั้งหมดจะมากองอยู่ในรองเท้าทำให้ไม่เห็นรองเท้า สักหน่อยจะเดินไปที่กทมไปช่วย โกยขยะทำให้คนดูนั้นฮาแตกสนั่น

ครั้งที่ 6 ฉายเดี่ยว (ปี 2546) มีการแสดงถึง 43 รอบโดยรอบนี้จะแสดงถึงเกี่ยวกับวัฒนธรรม บ้านเมือง มาอำเป็นมุกสนุกๆเหมือนเดิมในยุคนั้นกาวถึงเรื่องเบอร์โทร 1900 ที่ต้องการให้คนกดปุ่มนี้มากมายแต่ก็เข้าไม่ได้สักทีเป็น 10 นาทีหลายคนจึงจำได้ดีว่าเสียเงินมากขนาดไหนกับเบอร์โทรนี้เป็นยุคที่ต้องดูเพื่อเล่นเกมหรือดูดวง

ครั้งที่ 7 ฉายเดี่ยว (ปี 2551) รอบนี้ไปไกลถึงประเทศออสเตรเลีย ซิดนีย์ โดยมีเรื่องเล่ามากมายขึ้นเลข 4 ของโน้ต มีมุกฮาตลกกล่าวถึงถึงครีมของเจ๊ดอนเมืองและมีกิริยาที่รวมท่าทางฮา อย่างมุก โทนเนอร์ที่เหมือนทินเนอร์ “ทานอนกลางทาครีมตัวไหน”ทำให้โป๊ะปะกันทั้งฮอลล์ เป็นมุกตลกอดที่อดขำไม่ได้เลยทีเดียว

ครั้งที่ 8 ฉายเดี่ยว (ปี 2553) พูดถึงการใช้ชีวิตประจำวันและการบินเที่ยวต่างประเทศและปัญหาที่ชวนคิด เรื่องข้าวหลามก็ สามารถเป็นเรื่องเป็นราวทำให้คนดูนั้นขำได้ มีใครที่ไหนกินข้าวหลามทั้งกระบอกทำไมไม่ทำเป็นช็อต หรือการทำข้าวหลามแบบลิปสติกก็แค่หมุนมันก็เอาเข้าปากง่ายกว่าเรียกเสียงฮาได้ก้องสนั่นไปเลยค่ะ สำหรับมุขนี้

ครั้งที่ 9 ฉายเดี่ยว (ปี 2554) รวมมุกตลกมากมายโดยพูดถึงสังคมออนไลน์และความยากจนที่กำลังมาแรงในช่วงนั้น แถมยังมีคำขวัญที่น่าจดจำในครั้งนั้นอีกด้วย อย่างวลีในตำนานที่จดจำไม่ลืมเลย นับว่าสร้างเสียงหัวเราะหนักมากกับมุข “เซาะกราวขนาดหนัก” ที่ยังจดจำกันได้ถึงทุกวันนี้

ครั้งที่ 10 ฉายเดี่ยว (ปี 2556) เรื่องราวเกี่ยวกับวงละครเหมือนเดิมแต่อาจจะเบาสมองลงหน่อยเพราะได้หยิบเรื่องใกล้ตัวออกมาเป็นเนื้อเพลงฮิปฮอปทุกครั้งที่พูดถึงตุ๊กตาสุดฮิตในยุคนั้นมันคือ ตุ๊กตาเฟอร์บี้ที่เหล่า ดารา,นางแบบ,นักร้องนิยมแม้แต่จะกินมาม่าทั้งเดือนก็ยอม กับพ่อแม่นั้นไม่เคยป้อนข้าวสักครั้งแต่เฟอร์บี้นี้ป้อนทุกๆ 5 นาทีรวมถึงตุ๊กตาบลายธ์ที่มานอนเหงาตายอยู่ในตู้ เป็นอีกหนึ่งมุกที่หลายๆคนอดยิ้มไม่ได้เลยจริงๆ

ครั้งที่ 11 ฉายเดี่ยว (ปี 2558) เป็นการหยิบประเด็นกลางเมืองหรือตลกร้ายในยุคโซเชียลออกมาเล่น มุกสารพัดปัญหาทั้งขายครีมแนว 18+ กับวลีเด็ดที่ชวนฮามากๆ เร่งอกฟูรูฟิตระงับกลิ่นแฟนติดใจ กิริยาเชิญชวนทำให้คนดู ฮา กระจายถึงกับน้ำตาไหลกันเลยทีเดียวกับมุกเด็ด ของเดี่ยว 11

ครั้งที่ 12 ฉายเดี่ยว (ปี 2561) กลับมาอัปเดตเหมือนได้พบเพื่อนเก่าที่หายมานานโดยใช้เวลาการแสดงถึง 3 ชั่วโมง 8 นาทีและมีการแซวถึงครูปรีชาเฮฮาไปทั้งฮอลล์โดยเฉพาะผลงานกับที่โดดเด่นธรรมดาใจที่ไหน ไม่ต้องห่วงครูยังมีผมข้าง “แต่นี่ผมตรงกลางของครูนั้นมันหายไปหายไหน” ทำให้มุกนี้ เฮฮาถูกใจคนทั้งฮอลล์เลยทีเดียว

ครั้งที่ 13 ฉายเดี่ยว (ปี 2565) เป็นปีแรกที่คุณจะได้ดูผ่าน Netflix โดยเปิดวลีแค่ว่าผมหิวแสง ทำเอาคนทั่วบ้านทั่วเมืองนั้น ถึงใจกับมุกนี้แบบสุดๆ ข่าวดังในตอนนี้พูดถึงจาพนมเรื่องราวเกี่ยวกับการทำบ้าน และรวมถึงการแซวบทสวดมนต์ของปาล์มมี่ ที่ชวนฮาที่ชวนฮาน้ำตาแทบเล็ดกันเลยทีเดียว

เดี่ยว 13 ผมหิวแสง

และนอกจากเดี่ยว 13 ยังมีผลงานที่น่าติดตามอีกด้วย! หมู่ วาไรตี้ 1 (โน๊ต อุดม),หมู่ วาไรตี้ 2 (โน๊ต อุดม),ซิดดาวน์ วิท สแตนด์อัพ (โน๊ต+ป๋าเต็ด) และเดี่ยวไมโครโฟน สเปเชียล ซุปเปอร์ ซอฟพาวเวอร์ ในปี 2024 รับชมผ่านNetflix เดี่ยวล่าสุดรับรองว่าสนุกฮาไม่ไหวเลยจริงๆ ค่ะ